ผมเป็นหมอเด็กอยู่ที่จุฬา ไปเรียนต่อที่อเมริกามาเรื่องรักษามะเร็งเด็ก

ผมเป็นหมอเด็กอยู่ที่จุฬา ไปเรียนต่อที่อเมริกามาเรื่องรักษามะเร็งเด็ก

ผมเป็นหมอเด็กอยู่ที่จุฬา
ไปเรียนต่อที่อเมริกามาเรื่องรักษามะเร็งเด็ก
กลับมาก็ตั้งหน้าตั้งตารักษาเลย
เต็มที่มาก อยากให้เค้าหาย
แต่เต็มที่แค่ไหน ก็ไปได้แค่ตามสถิติแหละ
หายขาดแค่ 55%
คนไหนกลับมาเป็นซ้ำ
โดยสถิติคือ ไม่มีใครรอดเลย
ไม่ว่าจะที่จอห์น ฮอปกินส์ หรือที่จุฬาลงกรณ์
.
อยู่มาวันนึง
หลังจากรักษาไปเต็มที่แล้วเด็กไม่รอด
คุณแม่ก็พูดขึ้นมาว่า
ถ้ารู้อย่างนี้ ไม่พาเค้ามา รพ.หรอก พาเค้าไปเที่ยวทะเลดีกว่า
ผมสะท้อนใจมาก
ผมรู้นะ ว่าเค้าไม่มีทางรอดอยู่แล้ว
แต่ก็ยังต้องเอาเค้ามาอยู่ใน รพ
มานอนทุกข์ทรมาน ให้เคโม
ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นให้เราเริ่มคุยกับเด็กอย่างจริงจัง
ว่าอะไรคือสิ่งที่เค้าอยากทำกันแน่
กรณีที่รู้แน่ๆ ว่าไปต่อก็ไม่รอด
ผมก็บอกแม่เลย
ไปเลย ทะเล ภูเขา ไปได้หมด ไม่ต้องมาอยู่ในโรงบาล
แม่กลัวอะไร กลัวติดเชื้อ บอกผม
เอายาไป ไม่ต้องห่วง
ไปใช้ชีวิตให้มีความสุข
.
สิ่งที่ได้กลับมาหลังจากเด็กตายก็เปลี่ยนไป
ก่อนนี้ พอลูกตาย
แม่จะไม่อยากกลับมาที่ รพ.อีก
ที่นี่มันไม่เป็นมงคล มันเอาชีวิตลูกเค้าไป ชีวิตนี้จะไม่กลับมาเจอหมอคนนี้อีกแล้ว
แต่พอเราเปลี่ยนวิธี
กลายเป็นเค้ากลับมาขอบคุณ
มีคุณแม่คนหนึ่งถึงกับกลับมาปรึกษา หลังจากลูกตายไปหลายปีแล้ว
คราวนี้คุณยายเด็ก ก้อคือคุณแม่ของเค้าเองเป็นมะเร็ง
ยายอยากจะตายที่บ้าน
หมอแนะนำหน่อยได้มั้ย
.
ผมเป็นหมอเด็ก
เด็กกับคนแก่ไม่เหมือนกัน
เด็กมีความฝันมากมาย มีโลกกว้างที่ยังไม่เคยเจอ
เราไปทำให้ฝันเค้าเป็นจริง
เค้าได้จากไปอย่างมีความสุข
แล้วคนแก่ล่ะ
ผมก็ลองไปคุยดู
ถึงได้พบว่าคนแก่ส่วนมาก
บรรลุภารกิจชีวิตตัวเองไปหมดแล้ว
เลี้ยงลูกโตแล้ว
ทำสิ่งที่อยากทำก็ครบแล้ว
ไม่มีที่ไหนในโลกที่อยากไปอีก
เค้าแค่อยากอยู่กับลูกหลาน ไม่อยากไปนอนเหงาๆ ใน รพ.
แต่ก็ไม่อยากเจ็บปวดทรมาน
เอ๊ะ.. มันก็ไม่ยากนี่นา
.
ก็เป็นจุดเริ่มต้นของเยือนเย็น
เราก็เป็นเหมือนที่ปรึกษาให้เค้าคลายกังวล
มาคุยกันแม่อยากได้อะไร อยากจากไปแบบไหน
ลูกๆ กังวลอะไร พ่อล่ะกังวลอะไร
เราไปช่วยจูนให้คนในบ้านมองเห็นความต้องการของคนที่กำลังจะตาย
เพราะเจ้าของชีวิตต่างหากที่สำคัญที่สุด
ถ้าเค้าเองไม่อยากยื้อแล้ว
ลูกๆ จะเอาความต้องการของตัวเองที่อยากให้แม่อยู่นานขึ้นอีกซักอาทิตย์ อีกซักเดือน มาเป็นหลักแทนเหรอ
.
ถ้าตกลงใจกันได้
เรื่องดูแลอื่นๆ ถ้ากังวลเราจะช่วย
เหนื่อยขึ้น จะเพิ่มยาได้มั้ย
ออกซิเจนประมาณนี้ ต้องทำไรมั้ย
มีไข้ ทำไงดี
ทำแผลไม่ถูก เราส่งพยาบาลไปช่วย
แล้วก็ให้ลูกไปเอายาแทนที่ รพ.
ลดการเอาคนไข้ไป รพ.ให้น้อยที่สุดตามความต้องการของเค้าเอง
มีปัญหาเราไปดูให้ที่บ้าน
ก็เหมือนมีเพื่อนเป็นหมอเพิ่มมาอีกคนให้คอยถามได้
แต่ทำไมจะต้องเป็นคนที่มีเพื่อนเป็นหมอเท่านั้นเหรอถึงจะได้สิทธินี้
ทำไมชาวบ้านทั่วไปไม่มีสิทธิล่ะ
.
จริงๆ ผมเคยคิดว่าจะทำคนเดียวเลย
แต่ปรึกษาผู้ใหญ่แล้วท่านบอกว่า
ไม่ได้หมอ.. ทำแบบนั้นไม่ยั่งยืน
ก็เลยตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน
ก็คือรับเงินแต่ไม่หาผลประโยชน์
ตอนนี้ก็มีเจ้าหน้าที่อยู่เกือบๆ สิบคน
เป็นพยาบาล 3 คน
ตอบไลน์ 24 ชั่วโมง
ปีนึงคนไข้สะสมสูงสุด 450 คน
มีหมอเป็นผมคนเดียวก็ยังดูไหวนะ
.
ผมคิดว่าทำแบบนี้มัน win win win นะ
คนไข้ (ที่ไม่อยากยื้อชีวิตแล้ว) ก็ไม่ต้องเหนื่อยมา รพ.
หมอใน รพ.ก้อลดภาระ
ระบบสุขภาพก้อลดรายจ่าย
ใครอยากจะทำแบบนี้บ้างก็มาก้อปไปเลย
หรือจะมาทำด้วยกันก้อได้
โมเดลนี้ผมทำมาแล้ว
บอกได้ว่าต้นทุนต่อรายประมาณ 7,000 บาท
ใครมีกำลังจ่ายก็จ่าย ไม่มีจะช่วยน้อยกว่านี้ก็ได้
.
ผมเก็บสถิตินะ ตั้งแต่ทำมา
ในร้อยคน จะสมปรารถนาได้ตายที่บ้านจริงๆ ประมาณ 70 คน
มันก้อมีบ้างแหละ ที่ถึงวันท้ายๆ แล้ว
ลูกทำใจไม่ได้
หรือมีญาติที่เพิ่งได้มาเยี่ยม มาคะยั้นคะยอให้เอาไป รพ.
แต่โดยรวม ผมก็ถือว่า
เราได้ช่วยคนไข้ให้ไปสบายที่บ้านได้ไม่น้อย
.
ขอบพระคุณ อ.อิศรางค์ ที่มาแบ่งปันค่ะ

ขอขอบพระคุณ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต

#เยือนเย็น
#HumanLibrary
#Deathfest2025 Day2
#เยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
#palliativecare
#การดูแลแบบประคับประคอง
#ดูแลที่บ้าน