คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จับมือพันธมิตรไทย-ต่างชาติ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “2025 International Symposium in Music Therapy” เสนอผลงานวิจัยด้านดนตรีบำบัดจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลก​

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จับมือพันธมิตรไทย-ต่างชาติ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “2025 International Symposium in Music Therapy” เสนอผลงานวิจัยด้านดนตรีบำบัดจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลก

             คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “2025 International Symposium in Music Therapy” โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2568 ณ ห้องเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีบำบัด (นานาชาติ) รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ ในการนี้  ผศ.ดร.สิริธร ศรีชลาคม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ ผศ.ดร.พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

การประชุมวิชาการครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พญ.สุธิดา สุวรรณเวโช จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ ผศ.ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน คณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็น Keynote Speaker ในหัวข้อ “Insights from Interdisciplinary Perspectives on Care and Development”

          การประชุมวิชาการนานาชาติ “2025 International Symposium in Music Therapy” เป็นความร่วมมือทางวิชาการของหลักสูตรด้านดนตรีบำบัดร่วมกัน 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ Luca School of Art, KU lueven สาธารณรัฐเบลเยียม Tunghai University (เกาะไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน) และหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีบำบัด (นานาชาติ) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นความร่วมมือทางวิชาการของนักดนตรีบำบัดจากทั่วโลก ถือว่าเป็นการจัดการประชุมวิชาการด้านดนตรีบำบัดเป็นครั้งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีการนำเสนอผลงานวิจัยด้านดนตรีบำบัดจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลก ได้แก่ Prof. Dr.Jos De Baker และ Prof. Katrien Fubert ทางด้าน Clinical Improvisations for Psychiatric Patients 

 งานนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาวิชาดนตรีบำบัด นักวิชาการ นักวิชาชีพ อาจารย์ นิสิตนักศึกษา รวมทั้งผู้ที่สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ อาทิ ประเทศเบลเยี่ยม ไต้หวัน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 110 คน
 
 

#เยือนเย็น #เยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม #palliativecare
#การดูแลแบบประคับประคอง #ดูแลที่บ้าน