รู้จักเยือนเย็น

“ถ้าผู้ป่วยอยากกลับไปตายที่บ้านจะยุ่งยากไหม”
.
เป็นคำถามของหลาย ๆ คน แม้ว่าตั้งใจจะทำตามความต้องการของผู้ป่วยที่อยากกลับบ้าน แต่ก็ยังกังวลว่าจะดูแลเองได้ไม่ดี หรือกลัวว่าหากเสียชีวิตที่บ้านต้องมีการดำเนินการยุ่งยาก ชีวามิตรมีคำตอบจาก คุณหมอเมย์ – ศาสตราจารย์ ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ผู้อำนวยการ เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม มาฝากกันค่ะ
.
“การดูแลผู้ป่วยจนเสียชีวิตที่บ้านไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิด ถ้ามีหมอให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ที่บ้าน หรือติดต่อเยือนเย็นก็ได้ ทีมแพทย์จะไปเยี่ยม และให้คำแนะนำว่าต้องดูแล หรือจัดการอาการต่าง ๆ อย่างไร เพื่อให้ผู้ดูแลมั่นใจว่าการดูแลจนเสียชีวิตที่บ้านนั้นทำได้ไม่ยาก
.
อุปสรรคที่พบคือ ญาติมีความเห็นต่าง อาจจะเป็นเพราะความหวังดี อยากพาส่งโรงพยาบาล จึงเป็นการต่อสู้ทางความคิด ความเชื่อ หรือความรู้สึกมากกว่า เช่น เรามักคิดว่า คนเราต้องกิน ใช่ ถ้าคนเราต้องมีชีวิตอยู่ก็ต้องกิน แต่ถ้าพร้อมจะเสียชีวิตแล้วก็ไม่จำเป็นต้องกิน หรือการต้องต่อสู้กับความรู้สึกผิดว่า เพราะไม่ให้กิน เขาถึงตาย แต่ความจริงแล้ว เพราะเขากำลังจะตายต่างหากจึงไม่กิน
.
จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันตั้งแต่เริ่มต้นการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ต้องมีการพูดคุยกับครอบครัว (Family Meeting) ว่า คิดอย่างไร มีความเข้าใจอย่างไร แล้วทำให้ทุกคนสบายใจว่า สภาวะธรรมชาติของการตายเป็นอย่างไร เมื่อทุกคนเข้าใจตามความเป็นจริงตั้งแต่แรก ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
.
ความจริงแล้ว การดูแลที่บ้านนี่ดีกว่าโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวจากการรักษาที่ไม่จำเป็น ไม่ยุ่งยาก สามารถตายสงบได้ ส่วนในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก คนใกล้ตายส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือมากมาย เช่น ผู้ป่วยเป็นมะเร็งกระจายไปที่สมอง โรคสมองเสื่อม หรือความเจ็บป่วยอะไรที่เกี่ยวกับทางสมอง ผู้ป่วยจะหลับไป เราก็ดูแลเหมือนเขานอนหลับ ไม่จำเป็นต้องทำให้เขาตื่นขึ้นมากินอย่างคนทั่วไป เพราะอาการสมองเสื่อมจนใกล้หมดเวลาแล้ว คนไข้ไม่ได้ต้องการน้ำหรืออาหาร ถ้าเข้าใจสภาวะธรรมชาติของการตาย ก็จะไม่มีความกังวล หรือรู้สึกผิดกับเรื่องนี้
.
เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้าน แพทย์ที่ให้การดูแลเขียนเอกสารทางการแพทย์ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคอะไร เลือกจะดูแลและเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้าน ให้ญาติไปแจ้งตำรวจท้องที่ ตำรวจจะรับแจ้งความไว้ มาดูที่บ้าน ดูรูปการณ์ ดูเอกสารที่แพทย์ให้ไว้ แล้วก็ทำรายงานสรุปว่า เป็นการตายแบบธรรมชาติ บางท้องจะติดต่อหมอนิติเวชมาดูที่บ้าน ดูสภาพผู้ตาย และดูเอกสารทางการแพทย์ที่ทำไว้ว่า ป่วยเป็นโรคอะไร ตายแบบธรรมชาติ แล้วออกเอกสารให้ จากนั้นญาตินำเอกสารไปแจ้งที่เขตเพื่อออกใบมรณบัตร เป็นอันจบพิธีทางราชการ เมื่อเอกสารทุกอย่างเรียบร้อยก็นำร่างไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป”

 

กรุงไทย X เยือนเย็น เติม ต่อ ลมหายใจให้ผู้ป่วยระยะท้าย
กรุงไทย X เยือนเย็น เติม ต่อ ลมหายใจให้ผู้ป่วยระยะท้าย

Our team

พญ. นาฏ ฟองสมุทร

Board of Director

ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการงานผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในผู้ที่จะเล่าเรื่องที่พักผู้สูงอายุได้ดี จากประสบการณ์ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปี ก่อน หรือเรื่องราวปี 2540 หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากประเทศอังกฤษ

นอ.นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์

นอ.นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์

วิสัญญีแพทย์จากโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

ผู้ดูแลเรื่องความปวดในคนไข้ระยะท้าย ผู้ให้สิทธิและใช้นิยามการตายดีของคนไข้เป็นแนวทางในการดูแลรักษา

นายแพทย์ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

นายแพทย์ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

แพทย์ประจำศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

อาจารย์ นายแพทย์ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร แพทย์ประจำศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และหัวหน้าโครงการวิจัยนำร่องเพื่อศึกษาทดสอบระบบอัจฉริยะสำหรับจัดหาอาสาสมัครสาธารณสุข (MedAsa) สภากาชาดไทย กับบทบาทผู้อยู่เบื้องหลังธารน้ำใจคนไทยมือหนึ่งของสภากาชาดไทย

ศ.ดร.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร

Chief Executive Officer

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งและชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยนโยบาย 'มะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม' ช่วยลดความยุ่งยาก ย้ำทุกแห่งสามารถรักษาในมาตรฐานเดียวกัน-ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลใหญ่ 

แพทย์หญิงปณิธิ โชลิตกุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโสต ศอ นาสิก

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม โรคหู ความผิดปกติของการได้ยินและระบบประสาททรงตัว