การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตอนที่ 3 # ใจคนดูแลต้องนิ่งแบบไหนถึงจะพอ?

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตอนที่ 3 # ใจคนดูแลต้องนิ่งแบบไหนถึงจะพอ?

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตอนที่ 3 # ใจคนดูแลต้องนิ่งแบบไหนถึงจะพอ ?

ถ้าท่านได้ตกลงกับผู้ใหญ่ที่บ้านว่าจะให้ท่านได้ใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้าน สิ่งที่ท่านจะต้องเผชิญในฐานะผู้ดูแลมีหลายเรื่อง
– เรื่องแรกคือการยอมรับด้วยใจว่าเราจะดูแลแบบไม่ต่อสู้ให้ท่านต้องมาเจ็บตัว พอท่านdropทีเราก็ต้องตั้งสติ ไม่ตกอกตกใจแล้วรีบพาท่านไป รพ. ถ้ามีญาติพี่น้องก็ต้องเคลียร์เรื่องนี้ให้ดี บ้านเปิ้ลโชคดีที่ทุกคนเข้าใจ ไม่มีใครโวยวายให้เราเอาคุณป้าไปให้น้ำเกลือเมื่อท่านทานไม่ได้ แม้แต่ช่วงที่ท่านปัสสาวะออกน้อย ท่านยังบอกว่่าไม่อยากให้ใส่สายสวน ล่าสุดคุณป้าปฏิเสธการฉีดยากันอาเจียน คงเป็นเพราะท่านเตรียมพร้อม

– ร่างกายของท่านร่วงลงหลายครั้ง ลงแล้วกลับมาที่เดิมคงเป็นเรื่องที่เราทุกคนคงเคยได้ยิน ครั้งแรกที่เกิดกับคุณป้าคือเมื่อต้นเดือนมกรา ตี 4 พี่เลี้ยงโทรขึ้นไปว่าคุณป้าเรียกหา พอวิ่งลงมาคุณป้าก็กอดและบอกว่าชีพจรอ่อน เพราะคุณป้าเป็นพยาบาลจึงรู้เรืองร่างกายพอสมควร (คุณป้าจึงบอกว่าดีแล้ว จะได้ไม่เจ็บ/บอกว่าสบายแล้วทำนองว่าจะไปแล้วนะ) แต่ร่างกายก็ฟื้นขึ้นมาได้โดยธรรมชาติของร่าง การขึ้นลงเกิดขึ้นอย่างนี้อยู่ 3 รอบจนถึงปัจจุบันก็เห็นสัญญาณการอ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด … ในช่วงของการขึ้นลง ไม่ว่าเปิ้ลจะเตรียมใจมาแค่ไหน(หรือเรียนและอ่านหนังสือเตรียมตัวตายมากี่ครั้ง) มันก็ไม่ง่ายที่จะเผชิญกับสถาณการณ์นี้ มันเหมือนเราซ้อมครั้งที่ 1-2-3 ซ้อมก็แล้ว เรียนรู้ก็แล้วเราก็ยังรู้สึกกับการพลัดพราก คงเป็นเพราะเราแค่รู้ว่ามีไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) แต่เรายังไม่สามารถปฏิบัติจนจิตปล่อยวางได้ หนทางนี้ยังอีกไกลจริงๆ

– เมื่อครั้งที่แล้วของการขึ้นลงคุณป้าบอกว่าไม่เป็นไรไม่ต้องร้องและบอกว่า Good Luck ..  เราจึงรู้ว่าคนที่ไม่พร้อมคือผู้ที่อยู่เช่นเรา ไม่ใช่ท่าน
รอบหน้าจะมาเล่าเรื่องการเตรียมความพร้อมของคุณป้าให้ฟังนะคะ รอบนี้อยากบอกเล่าให้ผู้ที่สนใจที่จะดูแลคนที่รักที่บ้านได้ฝึกดูจิตตัวเองไป เรียกว่าเป็นการซ้อมเล็กไปเรื่อยๆ

ปล. คุณป้ายังยิ้มได้ ระหว่างที่เปิ้ลพิมพ์ FB นี้ เปิ้ลเปิดบทสวดให้ท่านฟัง ท่านก็เอามือมาประสานกัน